การใช้ Social media สร้างแบรนด์ของคุณให้เป็นที่จดจำ

  •  นางสาว ณหทัย เพิ่มลอย

  • รหัส 5721401775


ที่มาของรูปภาพwww.digithun.com

 
การใช้ Social media สร้างแบรนด์ของคุณให้เป็นที่จดจำ
 
 
   1. ใช้ Social Media ตบด้วย PR (Public Relations) หรือที่เราเรียกกันว่าการประชาสัมพันธ์  คือการจัดแจงข้อมูลภายในองค์กรเฉพาะที่สำคัญเพื่อสื่อสารความคืบหน้าออกไปสู่สาธารณะ
วิธีในการสร้างแคมเปญ  โดยการทำ PRควรจะเชื่อมโยงกันระหว่าง Social Media กับ PR โดยควรจะ Social Media ใช้เพื่อส่งเสริมแคมเปญ PR ที่ทำให้เกิดการกระจายไปยังมีเดียอื่นๆ และเป็นที่สนใจของบก.ข่าวต่างๆ รวมถึงส่งผลดีต่อแบรนด์และธุรกิจของเรา ลองใช้ Social Media ในการสร้างความสนใจจากสื่อ วิธีหนึ่งง่ายๆ ในการเข้าถึงกับนักข่าวที่คนมักคาดไม่ถึงคือ Twitter ถ้าพวกเขาอ่านงานของคุณแล้วชอบก็มีเปอร์เซ็นสูงในการบอกต่อ
 
 
2. Content Marketing คือ New SEO การสร้าง message ที่ Simple (เรียบง่าย) จะช่วยให้เกิดการสื่อสารชัดเจนและเกิดความต่อเนื่อง ลองนึกถึงประโยคสั้นๆ ที่โดดเด่นก่อนเริ่มต้นเขียนงานสักชิ้น ความชัดเจนจะเป็นพลังสร้างงานเขียนของคุณให้เป็นที่จดจำ ทั้งความชัดเจนในการเขียนยังเป็นประโยชน์ในการทำ Content Marketing ในด้าน SEO ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าค้นหาคุณเจอได้ง่ายขึ้น


 
3.Real-Time Marketing  คือ การติดตามข่าวหรือเทรนด์ที่กำลังเป็นกระแสและมองหาวิธีการเชื่อมเรื่องราวของแบรนด์เราลงไป และเมื่อไรถ้าแบรนด์คุณได้ทำ Real-time Marketing หรือ Tie-in แบรนด์เข้าไปในกระแสอย่างสร้างสรรค์และแนบเนียนแล้ว หาวิธีทำให้สื่อต่างๆ รู้ และจุดกระแสไปในทั้ง Social Media และแคมเปญ PR ด้วย
 
4.ความสัมพันธ์ของ Blogger  ปัจจุบันในโลกของมีเดีย เรากำลังหาวิธีการในการขาย Content ที่มีคุณภาพ เมื่อไรก็ตามที่ Content ไม่ดีพอ Blogger เจ้าของ Content ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง ฉะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ Blogger ต้องสร้าง Content ที่มีคุณภาพเพื่อจะสร้างยอดวิวให้มากขึ้น ลองเขียนเล่าเรื่องให้ง่ายๆ เพื่อให้คุณเป็น Blogger ที่ทั้งผู้อ่านและแบรนด์โปรดปราน


 
5.วัดผลทันที เป็นหนทางหนึ่งที่ดีที่สุดในการสร้างความผูกพันที่ต่อเนื่องระหว่างแบรนด์และลูกค้าคือ การฟังเสียงที่ลูกค้าต้องการจริงๆ แบบ Real time สิ่งหนึ่งที่แบรนด์มักจะลืมทำ คือ การประเมิน PR Editor ที่เราไปฝากข่าวไว้ ว่าสามารถสร้างผลงานที่น่าพอใจพอหรือได้ทำลายภาพลักษณ์หรือ Community ของแบรนด์ที่เราสร้างไว้หรือเปล่า?
 
Previous
Next Post »